https://www.tiktok.com/@ajfoamm

 

 

AutoCAD
เพื่องานเขียนแบบก่อสร้าง

 

 

วิทยากร :  นายรัฐวิสุทธิ์ กล่อมจิตต์

Facebook page : อาจารย์โฟม สอน AutoCAD

 

 

ระยะเวลาการอบรม :  15 วัน (รวม 45 ชั่วโมง)
💼 วันที่อบรม :   2 ส.ค.65 ถึง 1 ก.ย.65 เฉพาะวัน อังคาร พุธ พฤหัสฯ  
⏰ เวลาการอบรม :   18:00-21:00 น.

⛳️สถานที่ :   CMAT : Chiang Mai AutoCAD Training ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
🔴ค่าธรรมเนียม : 12,000 บาท/ท่าน
🔴การชำระเงิน : บัญชี ธ.กรุงศรีอยุธยา ชื่อ นายรัฐวิสุทธิ์ กล่อมจิตต์เลขที่บัญชี 319-1-38724-1

 

⭐คอร์สอบรมเชิงปฏิบัติการ AutoCAD เพื่องานเขียนแบบก่อสร้าง 45ชั่วโมง เป็นคอร์สเรียนที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สร้างทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและเขียนแบบ AutoCAD ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดตลอดกาลทั่วโลกมานานกว่า 30ปี โดยได้รับการยอมรับให้ใช้สอนมาแล้วทั้งในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ และ บริษัท ฤทธา จำกัด สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร⭐

 

หากชำระเงินแล้วสามารถแนบหลักฐานการชำระเงินได้ตามช่องทางติดต่อด้านล่าง 

หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

ลงทะเบียนสนใจเรียน
ชื่อ-นามสกุล
เบอร์โทรศัพท์มือถือ
อีเมล
Facebook

การใช้โปรแกรม AutoCAD เพื่อการเขียนแบบก่อสร้าง

ระยะเวลาในการเรียน : 45 ชั่วโมง (เรียน 15 ครั้งๆ ละ 3ชั่วโมง)

วิทยากร : นายรัฐวิสุทธิ์  กล่อมจิตต์ (อาจารย์โฟม)

      

 วัตถุประสงค์

  1. เข้าใจการใช้ลักษณะการใช้ AutoCAD เพื่องานเขียนแบบก่อสร้างได้เป็นอย่างดี
  2. สามารถประยุกต์หลักคณิตศาสตร์เพื่อใช้ระบบออกคำสั่งได้
  3. สามารถใช้ AutoCAD ได้อย่างคล่องแคล่ว
  4. สามารถปรับแต่งโปรแกรมเพื่อความเหมาะสมในการทำงาน
  5. สามารถเขียนแบบก่อสร้างได้ในระดับเริ่มต้น
  6. สามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์และเป็นไฟล์ .PDF ตามสเกลที่ถูกต้องได้

 

ครั้งที่ 1 แนะนำให้รู้จักโปรแกรมเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ AutoCAD

  • การเรียกใช้โปรแกรม AutoCAD
  • ส่วนประกอบบนหน้าจอของโปรแกรม AutoCAD
  • การสร้างพื้นที่ทำงาน(Workspace)
  • วิธีการปรับสภาพแวดล้อมใน AutoCAD ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
  • การปรับค่า Object Snap
  • การปรับค่าของ Cross-Hair
  • ลักษณะการใช้งานของปุ่ม Function Key ต่างๆ
  • ลักษณะการใช้งานคีย์บอร์ด(Keyboard)และเมาส์(Mouse)ร่วมกับโปรแกรม AutoCAD
  • แนวคิดเกี่ยวกับระบบพิกัดของผู้ใช้งาน(UCS : User Co-ordinate System)
  • ระบบพิกัดแบบสัมบูรณ์ Absolute Co-ordinate System
  • ระบบพิกัดแบบสัมพัทธ์  Relative Co-ordinate System
  • ระบบพิกัดแบบสัมพัทธ์แบบโพล่า  Polar Relative Co-ordinate System
  • แนวคิดของระบบมุม การหมุน และกฎมือขวา
  • การตั้งค่าหน่วยวัด
  • กลุ่มคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบ Distance ,  Identifies , Area
  • แนวคิดและลักษณะทั่วไปของวัตถุ
  • จุดเกาะ (Grip point)
  • การเรียกใช้คำสั่งทาง Menu Bar
  • การเรียกใช้คำสั่งทาง Button Command
  • การเรียกใช้คำสั่งทาง Command Line
  • การแก้ไขข้อผิดพลาดในขณะใช้คำสั่ง
  • การเลือกวัตถุ (SELECTION)
  • การใช้คำสั่ง ย่อ/ขยายมุมมอง(ZOOM)
  • การควบคุมการแสดงผลบนหน้าจอ(ZOOM) การเลื่อนมุมมองบนหน้าจอด้วยเม้าส์(MOUSE)
  • การเลือกใช้ออฟเจ็คท์สแน๊ป(Object snap) และออโต้สแน๊ป (Auto snap)
  • เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องระบบพิกัดโดยใช้คำสั่ง
  • การใช้คำสั่ง  line เพื่อเขียนภาพที่ประกอบด้วยเส้นตรง
  • เรียนรู้คำสั่ง LINE, RECTANGLE แนวคิด, คุณสมบัติ, ทำความเข้าใจในการออกคำสั่ง
  • ใช้คำสั่ง LINE, RECTANGLE  ร่วมกับ OTRACT, AUTOSNAP

ครั้งที่ 2 การใช้คำสั่งเพื่อวาดรูป ปรับแต่ง และ แก้ไข

  • เรียนรู้คำสั่ง แนวคิด, คุณสมบัติ, ทำความเข้าใจในการออกคำสั่ง
  • รู้จักคุณสมบัติต่างๆของ  Object Snap
  • การเลือกใช้และตั้งค่า Auto Snap เพื่อความแม่นยำในการเขียนแบบ
  • CIRCLE, ELLIPSE, ARC, POLYGON, ARC,
  • ใช้คำสั่ง CIRCLE, ELLIPSE, ARC, POLYGON, ARC, ร่วมกับ OTRACT, AUTOSNAP

 

ครั้งที่ 3 กลุ่มคำสั่งในการ แก้ไข ปรับแต่ง

  • เรียนรู้แนวคิดในการใช้คำสั่ง OFFSET, EXTEND, STRECH, TRIM, FILLET, CHAMFER,
  • ใช้คำสั่ง OFFSET, EXTEND, STRECH, TRIM, FILLET, CHAMFER,
  • ทดสอบความเข้าใจในการใช้คำสั่ง OFFSET, EXTEND, STRECH, TRIM, FILLET, CHAMFER,
  • เรียนรู้แนวคิดในการใช้คำสั่ง COPY,ROTATE, MIRROR, ARRAY, MOVE,
  • ใช้คำสั่ง COPY,ROTATE, MIRROR, ARRAY, MOVE,

 

ครั้งที่ 4 การกำหนดขนาด(DIMENSION) และการกำหนดมาตราส่วน(SCALE)

  • เรียนรู้แนวคิดในการกำหนดขนาด รูปแบบการกำหนดขนาด
  • เรียนรู้แนวคิดในการกำหนดมาตราส่วน การปรับมาตราส่วน
  • ใช้คำสั่งในการกำหนดขนาด รูปแบบการกำหนดขนาด  เทคนิคการปรับมาตราส่วน

ครั้งที่ 5 เตรียมกรอบแบบในสเกลต่างๆ การเขียนข้อความในโปรแกรม AutoCAD

  • รู้จักและทำความเข้าใจกับระบบสเกลในงานแบบก่อสร้าง
  • การตั้งค่า Text style
  • การตั้งค่า Dimensions style
  • การตั้งค่า Multi Leader style ตามสเกล ต่างๆ
  • ทำความเข้าใจการใช้ และ เตรียมกรอบแบบตามสเกล
  • ใช้คำส่งในการเขียนข้อความและปรับแต่งรูปแบบเบื้องต้น

 

ครั้งที่ 6 รู้จักแบบก่อสร้าง-สถาปัตยกรรม และ การเริ่มเขียนแปลนพื้น

  • การอ่านแบบ ทำความเข้าใจกับแบบ
  • เรียนรู้หลักการเขียนแบบ
  • องค์ประกอบของแบบสถาปัตยกรรม
  • สัญลักษณ์กำกับแบบ
  • เทคนิคการเริ่มเขียนแปลนพื้น
  • การพิจารณาใช้คำสั่ง Line Type Scale
  • การสร้าง การกำหนดสถานะ และ ปรับใช้ Layer
  • การตั้งค่า การวาดผนัง และปรับแต่ง ด้วยคำสั่ง Multi Line
  • เรียนรู้การใช้ ตั้งค่า ปรับแต่ง คำสั่ง Hatch
  • การคำนวณหาค่า Hatch scale ที่เหมาะสมและมีขนาดเท่าลวดลายเท่าขนาดจริง
  • การใช้คำสั่ง Block การ Insert (แทรก) Block เข้ามาในแปลน
  • การแก้ไข Block

 

 ครั้งที่ 7 การใส่สัญลักษณ์กำกับ และ กำหนดขนาดลงบนแบบ

  • การใช้ Attribute blocks ของสัญลักษณ์กำกับแบบ
  • กำหนดสัญลักษณ์บนแปลน
  • การใส่เส้นแนวตัดและความหมายของสัญลักษณ์
  • เรียนรู้การกำหนดขนาดแบบก่อสร้าง
  • กำหนดขนาดแปลนตามมาตราส่วนที่ถูกต้อง ด้วย DimLinear , Dimcontinue , Dimbaseline
  • ใส่ป้ายกำกับแนวเสาทั้ง 2 แนว

 

ครั้งที่ 8 การเขียนแปลนหลังคา

  • เรียนรู้เกี่ยวกับหลังคา
  • ทิศทางลาดเอียงของหลังคา
  • การใช้คำสั่ง Hatch เพื่อสร้างลวดลาย
  • ใส่สัญลักษณ์ที่ใช้กับแปลนหลังคา

 

ครั้งที่ 9 การเขียนภาพตัดแนวที่ 1 (แนว A – A)

  • เรียนรู้หลักการเขียนและเทคนิคการเขียนภาพตัด
  • แนวคิด เทคนิคการเขียนภาพตัดแนวที่ 1 (แนว A – A)
  • เทคนิคการใส่เส้นระดับที่สำคัญ
  • เทคนิคการจัดแนวอักษร
  • การใช้ Multi Leader เพื่อชี้อธิบายส่วนต่างๆที่สำคัญในแบบ
  • กำหนดขนาดภาพตัด A – A

 

ครั้งที่ 10 การเขียนภาพตัดแนวที่ 2 (แนว B – B)

  • เรียนรู้หลักการเขียนและเทคนิคการเขียนภาพตัด
  • แนวคิด เทคนิคการเขียนภาพตัดแนวที่ 2 (แนว B – B)
  • เทคนิคการใส่เส้นระดับที่สำคัญ
  • เทคนิคการจัดแนวอักษร
  • การใช้ Multi Leader เพื่อชี้อธิบายส่วนต่างๆที่สำคัญในแบบ
  • กำหนดขนาดภาพตัด B – B

 

ครั้งที่ 11 การเขียนรูปด้านที่ 1 และ 2

  • เรียนรู้แนวคิดในการทำภาพด้าน การฉายภาพ (Projection)
  • เรียนรู้เทคนิคการวาดภาพด้านอย่างละเอียด องค์ประกอบที่สำคัญ
  • การใส่เส้นบอกระดับที่สำคัญ

 

ครั้งที่ 12 การเขียนรูปด้านที่ 3 และ 4

  • เรียนรู้แนวคิดในการทำภาพด้าน การฉายภาพ (Projection)
  • เรียนรู้เทคนิคการวาดภาพด้านอย่างละเอียด องค์ประกอบที่สำคัญ
  • การใส่เส้นบอกระดับที่สำคัญ

ครั้งที่ 13 การเขียนแปลนโครงสร้าง

  • เรียนรู้ และ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแปลนโครงสร้าง
  • เขียนแปลนฐานราก
  • เขียนแปลนโครงสร้างพื้น
  • เขียนแปลนโครงสร้างหลังคา
  • กำหนดสัญลักษณ์กำกับแบบ

 

ครั้งที่ 14  การเรียบเรียงแบบใส่กรอบ

  • ทำความเข้าใจหลักการในการเรียบเรียงแบบ
  • สร้างข้อมูลใน Drawing properties
  • แทรกข้อมูลจาก Drawing properties เข้าสู่ Attribute block ของ Title block
  • จัดหน้า เรียบเรียงแบบโดยแยกเป็นแบบสถาปัตยกรรม และ แบบโครงสร้าง

 

ครั้งที่ 15 การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์หรือออกเป็นไฟล์ .PDF

  • ทำความเข้าใจในแนวคิดของการพิมพ์
  • การตั้งค่า PLOT STYLE
  • การตั้งค่าในการพิมพ์
  • การตั้งค่าเครื่องพิมพ์
  • การตั้งค่าการพิมพ์ออกเป็นไฟล์ .PDF

 

หากชำระเงินแล้วสามารถแนบหลักฐานการชำระเงินได้ตามช่องทางติดต่อด้านล่าง 

หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่